วันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS)
MIS (Management Information System)
MIS คืออะไร
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องแม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จาก ระบบเอ็มไอเอสสูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบเอ็มไอเอสแล้ว จะเป็นระบบที่ สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ ผู้บริหารทั้งสามระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบเอ็มไอเอสจะให้รายงาน ที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท จุดประสงค์ ของรายงานจะเน้นให้ผู้บริหารสามารถมองเห็นแนวโน้ม และภาพรวม ขององค์กรในปัจจุบัน รวมทั้งามารถควบคุมและตรวจสอบงานของระดับปฏิบัติการด้วย อย่างไรก็ดี ขอบเขตของรายงาน จะขึ้นอยู่กับ ลักษณะของสารสนเทศ และจุดประสงค์การใช้งาน โดยอาจมีรายงานที่ออกทุกคาบระยะเวลา (เช่น งบกำไรขาดทุนหรืองบดุล) รายงานตามความต้องการ หรือรายงานตามสภาวะการณ์หรือเหตุผิดปกติ

ตัวอย่างของระบบ MIS ภายในโรงเรียน


ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS)
(DSS : Decision Support Systems)
DIS คืออะไร
 ระบบสนับสนุนการตัดสิน (DSS : Decision Support Systems) เป็นระบบที่เป็นการทำงานแบบกึ่งโครงสร้าง มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำหน้าที่ในการอำนวยความสะดวกในการจัดรูปแบบข้อมูลการนำมาใช้และการรายงานข้อมูลเพื่อที่จะใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ ของผู้บริหารระดับต่าง ๆ (ประสงค์ ประณีตพลกรังและคณะ. 2541 ; 16) ในระดับนี้จำเป็นต้องอาศัยสารสนเทศจาก TPS และ MIS แบบสรุปมาใช้ประกอบการตัดสินใจ DSS แตกต่างจากระบบอื่น ๆ คือ เป็นระบบที่มีความยืดหยุ่นต่อการตัดสินใจ และมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์ต่าง ๆ เป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคนข้อแตกต่างระหว่าง DSS กับ MIS มีดังนี้

MIS สามารถให้สารสนเทศได้เฉพาะสารสนเทศที่มีอยู่แล้ว ไม่สามารถจัดสารสนเทศใหม่ทันทีทันใด MIS ใช้กับปัญหาแบบมีโครงสร้าง เช่น ในระบบสินค้าคงคลังเมื่อไรจึงจะสั่งวัตถุเพิ่ม และต้องสั่งเท่าไร ซึ่งเป็นลักษณะของปัญหาที่เกิดประจำในระดับปฏิบัติการ การตัดสินในจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการผลิต ราคาต้นทุนวัตถุดิบและตัวแปรอื่น ๆ ที่ต้องใช้ในระบบสินค้าคงคลัง
DSS ได้ถูกออกแบบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง ปัญหาแบบกึ่งโครงสร้างซึ่งเป็นปัญหาที่ส่วนเป็นแบบมีโครงสร้าง และส่วนหนึ่งเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง เช่น ความต้องการปรับปรุงคุณภาพการส่งสินค้าของพ่อค้า ปัญหาแบบมีโครงสร้างได้แก่ การเปรียบเทียบสารสนเทศในการส่งของอย่างตรงเวลาของพ่อค้า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถได้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของ MIS และปัญหาแบบไม่มีโครงสร้างได้แก่ สถานการณ์ที่ทำให้ไม่สามารถส่งสินค้าได้ เกี่ยวกับนโยบายการสั่งซื้อสินค้า ราคาสินค้า และอื่น ๆ ปัญหาดังกล่าวต้องใช้ DSS ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ นอกจากนี้ DSS จะอยู่ในรูปแบบที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้บริหารแต่ละคน เป็นระบบที่ถูกแบบขึ้นมาเพื่อช่วยผู้บริหารใน การตัดสินใจ ภายใต้ผลสรุป และเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกแหล่งข้อมูลภายในเป็นข้อมูลที่ได้มาจากฐานข้อมูลภายในองค์กร เช่น การขาย การผลิต ฐานะทางการเงิน
ขององค์กร แหล่งข้อมูลภายนอก ได้แก่ กระแสการเงิน กระแสการลงทุนในตลาดหุ้น ภาวะเศรษฐกิจ ข้อมูลของบริษัทคู่แข่ง DSS มักจะใช้ภาษาสืบค้น (Query Language) ใช้การวิเคราะห์ทางสถิติ ใช้ภาพกราฟิก เพื่อให้ผู้บริหารได้รับสารสนเทศที่ต้องการจริง ๆ ช่วยในการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังสามารถช่วยผู้บริหารสร้างตัวแบบ (Model)ของตัวแปรต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อการตัดสินใจ ซึ่งตัวแบบนี้ถ้าเปลี่ยน ตัวแปร 1 ตัวหรือมากกว่า จะทำให้ผลกระทบเปลี่ยนไปโดยตัวแบบจะรวมเอาแฟคเตอร์ (Factor) ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาเปรียบเทียบ ผลที่เกิดขึ้นเพื่อให้ผู้บริหารทำการตัดสินใจ ตัวแบบที่สร้างขึ้นง่ายต่อการใช้ การดึงข้อมูลและการทำรายงาน ผู้บริหารสามารถสร้างสารสนเทศที่คิดว่ามีประโยชน์เพื่อช่วยในการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี DSS เป็นระบบสารสนเทศแบบโต้ตอบได้ ช่วยในการตัดสินใจของคน ช่วยในการวิเคราะห์งานได้ดีโดยช่วยให้คนรู้จักข้อมูลและรู้จักใช้ตัวแบบ (Model) ของคอมพิวเตอร์ในการแก้ปัญหา ช่วยผู้บริหารในการทดสอบทางเลือกเพื่อตัดสินใจ ทำให้ทราบว่าการเลือกทางเลือกนั้นจะเกิดอะไรขึ้น ีการนำสารสนเทศที่เตรียมได้จากระดับล่างขององค์กรและสารสนเทศภายนอก มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อให้ได้ผลใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด สามารถทำนายแนวโน้มของตลาดได้ ทำให้การตัดสินใจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลักษณะการตัดสินในระดับนี้ จะค่อนข้างยุ่งยากซับซ้อนมากกว่าการตัดสินใจในระดับล่าง
4. ระบบสารสนเทศสำนักงาน (OIS : Office information Systems) เป็นระบบการจัดการสารสนเทศในสำนักงานโดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ในสำนักงาน เช่น อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ โมเด็ม (Modem) โทรศัพท์ เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เป็นต้น เพื่อใช้เกี่ยวกับงานประมวลผลคำ งานพิมพ์ตั้งโต๊ะ งานส่งข่าวสารข้อมูลและอื่น ๆ เป็นระบบเกี่ยวกับการผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานโดยเกี่ยวข้องกับระบบ TPS และ MIS เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในงาน บริหารในสำนักงานเพื่อเป็นประโยชน์ในการทำงาน


ตัวอย่างระบบ DSS ภายในโรงงานแห่งหนึ่ง


ความแตกต่างของระบบสารสนเทศ MIS ,DSS และ EIS
ระบบสารสนเทศ MIS ,DSS และ EIS ทั้ง 3 ระบบนี้ ถือเป็นระบบสารสนเทศที่เป็นตัวช่วยในการตัดสินใจของเหล่าผู้บริหารขององค์กรทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละระบบก็จะมีความสามารถ และการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ความแตกต่างนั้นยังรวมไปถึงความเหมาะสมของการเลือกใช้งานของผู้บริหารแต่ละระดับอีกด้วย ซึ่งความแตกต่างในแต่ละอย่างสามารถแยกออกมาได้ ดังนี้
1.ความแตกต่างด้านการใช้งาน 
MIS เป็นระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ เป็นระบบช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับงานที่มีโครงสร้างชัดเจน ทำให้ทราบถึงสถานการณ์ล่วงหน้าว่าจะมีโอกาส หรือปัญหาใดเกิดขึ้นบ้าง เพราะงานเหล่านั้นเป็นงานที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ                
DSS เป็นระบบสาระสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ เกี่ยวกับงานหรือแผนที่ไม่มีโครงสร้างและไม่ได้คาดการณ์มาก่อน ซึ่งเป็นงานที่ต้องการความรวดเร็วในการตัดสินใจ
                EIS เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร เป็นระบบใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนกลยุทธ์เฉพาะเรื่องที่มีความสำคัญต่อองค์กร
2.ความแตกต่างด้านผู้ใช้งาน
                MIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารทุกระดับในองค์กร
                DSS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง
                EIS ผู้ใช้งาน คือ ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้น
3.ความแตกต่างด้านการเก็บข้อมูลและประมวลผล
                MIS ดึงข้อมูลจากส่วนกลางที่เป็นฐานข้อมูลเก่าขององค์กรมาวิเคราะห์
                DSS ใช้ตัวแบบ (Model) มาประมวลผลและแก้ปัญหา โดยข้อมูลมาจากทั้งภายในและภายนอก
                EIS ใช้ตัวแบบ (Model) มาประมวลผลเหมือนกับ DSS เพราะเป็นหนึ่งในระบบเดียวกัน
4.ด้านระบบและการแสดงผล
                MIS ระบบจะพิมพ์รายงานออกมาตามกำหนด รูปแบบโดยทั่วไปจึงเป็นเอกสาร
                DSS ระบบเป็นแบบ Online การแสดงผลสามารถทำได้ทันทีทันใดโดยผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ และสามารถปริ้นได้
 TPS เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจากธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า เมื่อใดก็ตามที่มีการปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะเกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในการเป็นส่วนสนับสนุนการทำงานของระบบสารสนเทศต่างๆ เช่น MIS ,DSS และ EIS เพราะ TPS มีหน้าที่ในการจัดกลุ่มข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนกันไว้ด้วยกัน ช่วยคิดคำนวณ เรียงลำดับ สรุป และจัดเก็บข้อมูลไว้เพื่อให้ระบบสารสนเทศดังกล่าวได้ดึงข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการช่วยตัดสินใจของเหล่าผู้บริหาร

ตัวอย่างโปรแกรม DSS ที่ชื่อ OLAP สำหรับใช้ในการคำนวณในรูปแบบต่างๆ




แหล่งค้นหาข้อมูล








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น